ธรรมนูญสภาคณบดี (old Version)

Kritsana/ CITT

ธรรมนูญสภาคณบดี

เพื่อให้การดำเนินงานและการประสานงานของสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์จึงกำหนดธรรมนูญของสภาคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยไว้ ดังต่อไปนี้


หมวด ๑ บททั่วไป

มาตรา ๑ ธรรมนูญนี้เรียกว่า “ธรรมนูญสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๔”

มาตรา ๒ สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยเป็นองค์การอิสระทางด้านวิชาการซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากหน่วยงานระดับคณะและมีชื่อเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือหน่วยงานระดับ คณะที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น หน่วยงานนั้นมีการจัดการศึกษาในสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก

โดยมีคณบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานนั้นเป็นผู้แทนในธรรมนูญนี้ เพื่อความเข้าใจตรงกันในธรรมนูญ

จึงกำหนดนิยาม ดังนี้

“สถาบันอุดมศึกษา” หมายความถึง สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและมีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

“คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความถึง หน่วยงานระดับคณะหรือเทียบเท่าที่จัดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก

“คณบดี” หมายความถึง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

“สภาคณบดี” หมายความถึง สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

“ประธานสภาคณบดี ” หมายความถึง ประธานสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

“รองประธานสภาคณบดี” หมายความถึง รองประธานสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

“สมาชิก” หมายความถึง สมาชิกสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย

“คณะกรรมการบริหาร” หมายความถึง คณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่ง ประเทศไทย


หมวด ๒ ชื่อและวัตถุประสงค์

มาตรา ๓

ชื่อภาษาไทย คือ “สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย”

ชื่อภาษาอังกฤษ คือ “The Council of IT Deans of Thailand”

ชื่อย่อภาษาไทยว่า “สคทส.” และชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “CITT”

มาตรา ๔ วัตถุประสงค์ของสภาคณบดี คือ

(๑) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน และจริยธรรม ด้านวิชาการ การวิจัย และ การเรียนการสอน ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถแข่งขันในระดับสากล

(๒)เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันในทุกๆด้านระหว่างคณะเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นสมาชิก

(๓)เพื่อเป็นองค์การกลางในการเชื่อมโยงความต้องการด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กับการผลิตบัณฑิตทุกระดับของสถาบันอุดมศึกษา

(๔)เพื่อเป็นองค์การหลักทางด้านวิชาการที่ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนให้กับการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมและประเทศชาติ

(๕) เพื่อเป็นตัวแทนของสถาบันอุดมศึกษาในสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยในการ เจรจาและประสานความร่วมมือกับองค์การต่างๆ ที่เป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนทั้ง ภายในและต่างประเทศ

มาตรา ๕ ที่ตั้งของสภาคณบดีจะเวียนไปตามที่อยู่ถาวรของประธานสภาคณบดีในแต่ละสมัย จนกว่าจะมีที่ทำการถาวรเป็นของตนเอง

มาตรา ๖ เว็บไซต์ของสภาคณบดีมีชื่อเป็น www.citt.or.th


 

หมวด ๓ สมาชิก ประเภทสมาชิก การรับสมาชิก หน้าที่ของสมาชิก การพ้นจากการเป็นสมาชิก

มาตรา ๗ สมาชิกประกอบด้วยสมาชิกผู้ก่อตั้งซึ่งมีอยู่แล้วเมื่อประกาศใช้ธรรมนูญนี้

มาตรา ๘ สภาคณบดีมีสมาชิกสามประเภท คือ

(๑) สมาชิกสามัญ ได้แก่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีคณบดีเป็นผู้แทน สมาชิกสามัญต้องมีฐานะ เป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและได้รับการรับรองสถานภาพจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือกระทรวง หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ให้การรับรองเป็นสถาบันอุดมศึกษา

(๒) สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ หน่วยงานระดับภาควิชาหรือสาขาวิชา ซึ่งมีการจัดการศึกษาในสาขาวิชา ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวหน้าหน่วยงานหรือตำแหน่งที่สูง กว่าเป็นผู้แทน สมาชิกวิสามัญต้องมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับภาควิชาหรือสาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยและได้รับการรับรองสถานภาพจากสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)หรือกระทรวง หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ให้การรับรอง เป็นสถาบันอุดมศึกษา

(๓) สมาชิกสมทบ ได้แก่ สถาบัน สมาคม และองค์กรทางการศึกษาอื่น โดยมีผู้บริหารสูงสุดเป็น ผู้แทน สมาชิกสมทบต้องมีฐานะเป็นสถาบัน สมาคม และองค์กรทางการศึกษา ที่มีการจดทะเบียนนิติ บุคคลถูกต้องตามกฎหมาย

มาตรา ๙ การรับสมัครสมาชิกให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้

(๑) สมาชิกสามัญที่สมัครเข้ามาใหม่ จะต้องยื่นใบสมัครและมีสมาชิกสามัญลงนามรับรองอย่างน้อย ๑ แห่ง การเป็นสมาชิกจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบไม่น้อยกว่าสามในห้าของสมาชิกที่เข้า ประชุมให้รับเข้าเป็นสมาชิก

(๒) สมาชิกวิสามัญที่สมัครเข้ามาใหม่ จะต้องยื่นใบสมัครและมีสมาชิกสามัญลงนามรับรองอย่างน้อย ๓ แห่ง การเป็นสมาชิกจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของสมาชิกที่เข้า ประชุมให้รับเข้าเป็นสมาชิก

(๓) สมาชิกสมทบที่สมัครเข้ามาใหม่ จะต้องยื่นใบสมัครและมีสมาชิกสามัญลงนามรับรองอย่างน้อย ๕ แห่ง การเป็นสมาชิกจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิกที่เข้า ประชุมให้รับเข้าเป็นสมาชิก

สมาชิกที่สมัครเข้ามาใหม่ จะต้องส่งใบสมัครไปยังประธานสภาคณบดี ก่อนการประชุมสามัญคราหนึ่งคราใดหรือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อย ๑ เดือน

ในกรณีที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศหรือหน่วยงานที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกสภาคณบดีเคยเป็นสมาชิกอยู่ แต่พ้นจากการเป็นสมาชิกตามมาตรา ๑๒ การรับเข้าเป็นสมาชิกใหม่ ให้ดำเนินการตามมาตรา ๙

มาตรา ๑๐ สิทธิของสมาชิกมีดังต่อไปนี้

(๑) เข้าร่วมประชุมอภิปราย ซักถามและแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่สามัญของ สภาคณบดี

(๒) เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารในเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับกิจการของสภาคณบดี

(๓) เข้าร่วมกิจกรรมทุกประเภทของสภาคณบดี

(๔) ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือผู้แทนสภา เพื่อดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่สภาคณบดีหรือคณะกรรมการบริหารมอบหมาย

(๕) มีสิทธิออกเสิยงในที่ประชุมและที่ประชุมใหญ่สามัญ และมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของคณะ กรรมการบริหาร ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาที่มีสมาชิกสามัญมากกว่าหนึ่งแห่ง มีสิทธิออกเสียงในนาม ของสมาชิกสามัญได้หนึ่งเสียง

(๖) สมาชิกวิสามัญและสมาชิกสมทบมีสิทธิตามข้อ (๑) (๒) (๓) และ (๔)

มาตรา ๑๑ หน้าที่ของสมาชิกมีดังต่อไปนี้

(๑) ปฏิบัติตามธรรมนูญ ข้อบังคับ ระเบียบและมติของสภาคณบดี

(๒) สนับสนุนและร่วมกิจกรรมของสภาคณบดี

(๓) ดำรงรักษาเกียรติและผลประโยขน์ของสภาคณบดี

(๔) ดำเนินกิจการร่วมกับ สกอ. หรือกระทรวง หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ประชุมสภาคณบดีเห็นสมควร

(๕) เข้าร่วมการประชุมตามวาระต่างๆ ที่สภาคณบดีกำหนด

(๖) ดำเนินกิจการใดๆที่ก่อให้เกิดประโยขน์ต่อส่วนรวม โดยได้รับมอบหมายจากที่ประชุมสภาคณบดี

(๗) รักษาไว้ซึ่งความสามัคคีระหว่างสมาชิกและช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความสุจริต

(๘) แจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานะภาพของหน่วยงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ ประธานสภาคณบดีได้ รับทราบ

(๙) ชำระเงินค่าบำรุงสภาคณบดี ตามที่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีกำหนด

มาตรา ๑๒ การพ้นจากการเป็นสมาชิกมีสาเหตุจาก

(๑) ขอลาออก โดยยื่นหนังสือต่อประธานสภาคณบดี

(๒) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศหรือหน่วยงานนั้นถูกยุบเลิก

(๓) ไม่ชำระเงินค่าบำรุงสภาคณบดีติดต่อกัน ๒ ปี

(๔) ที่ประขุมใหญ่สามัญประจำปีมีมติไม่น้อยกว่าสองในสามให้ขับออกจากการเป็นสมาชิก เนื่องจากทำความเสื่อมเสียให้กับสภาคณบดีหรือกระทำการละเมิดธรรมนูญสภาคณบดีโดยเจตนา


หมวด ๔ คณะกรรมการบริหาร

มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย

(๑) ประธานสภาคณบดี ๑ คน

(๒) รองประธานสภาคณบดี ๒ คน ได้แก่ รองประธานสภาคณบดีอันดับที่ ๑ และ รองประธานสภา คณบดีอันดับที่ ๒

(๓) สมาชิกที่ประธานสภาคณบดี เสนอแต่งตั้งขึ้นโดยได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี จำนวน ๔ คน คณะกรรมการบริหารอาจมีที่ปรึกษาสภาคณบดีได้ไม่เกิน ๓ คน โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการบริหาร และที่ปรึกษาสภาคณบดีอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นอดีตผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา คณบดี

ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาที่มีสมาชิกสามัญมากกว่าหนึ่งแห่ง มีสิทธิเป็นกรรมการได้เพียง ๑ คน

มาตรา ๑๔ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑) เรียกประชุมอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

(๒) เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อย ๑ ครั้ง

(๓) แต่งตั้งและเรียกประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจ

(๔) แต่งตั้งผู้แทนของสภาคณบดี เพื่อเข้าร่วมประชุมหรือเป็นกรรมการต่างๆตามที่ได้รับเชิญ

(๕) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ หรือข้อขัดแย้งในธรรมนูญซึ่งสมาชิกได้เสนอขึ้นมา

(๖) อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๑๕ คณะกรรมการบริหาร มีวาระการทำงาน ๑ ปี หรือสิ้นสุดตามวาระในมาตรา ๑๖

มาตรา ๑๖ วาระการทำงานของคณะกรรมการบริหาร สิ้นสุดลงเมื่อ

(๑) ครบวาระการทำงาน ๑ ปี

(๒) ประธานสภาคณบดีขอลาออกจากตำแหน่ง

(๓) ประธานสภาคณบดี พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาคณบดีตามมาตรา ๑๒ หรือพ้นจากตำแหน่งคณบดี

(๔) ประธานสภาคณบดี ประสบเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อีก

(๕) สมาชิกมากกว่าสองในสามเสนอให้พ้นจากคณะกรรมการบริหาร

มาตรา ๑๗ ประธานสภาคณบดีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน ๒ วาระ

มาตรา ๑๘ คณะกรรมการบริหารอาจเสนอให้มีคณะทำงานเฉพาะกิจประกอบด้วย ผู้แทนที่ที่ประชุม สภาคณบดีแต่งตั้งขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาหรือทำงานใดๆ ที่สภาคณบดีมอบหมาย และจัดทำข้อเสนอ หรือรายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมสภาคณบดี

มาตรา ๑๙ การเลือกผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาคณบดี และรองประธานสภาคณบดี ให้กระทำดังนี้

(๑) การเสนอขื่อสมาชิกผู้สมควรดำรงตำแหน่งประธานสภาคณบดี และรองประธานสภาคณบดี ให้เสนอ ชื่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นหนึ่งตัวแทนเท่านั้น แม้ว่าจะมีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสมาชิก มากกว่าหนึ่งก็ตาม

(๒) การเลือกประธานสภาคณบดี ให้ทำการเลือกล่วงหน้าเป็นเวลา ๑ ปี ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่ง โดยให้ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีทำการเสนอสมาชิกที่สมควรดำรงตำแหน่งขึ้นมา โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า ๕ สถาบันอุดมศึกษา และผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ขัดข้อง

ในกรณีที่มีผู้โต้ “รับการเสนอ”ชื่อ เพื่อเป็นประธานสภาคณบดีมากกว่า ๒ ชื่อขึ้นไป ให้สมาชิกทำการ ลงคะแนนลับโดยการเขียนชื่อคณบดีของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการเลือก ถ้าผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในรอบแรก เกินกึ่งหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมประชุม ให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งประธานสภาคณบดีในปีถัดไป โดยให้เรียก ผู้ได้รับเลือกนี้ว่า “ว่าที่ประธานสภาคณบดี” และให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาคณบดีอันดับที่ ๑

ในกรณีที่มีชื่อคณบดีผู้ได้รับการเสนอชื่อเพียงผู้เดียว ให้สมาชิกลงคะแนนลับว่าจะรับรองหรือไม่รับรอง

ทั้งนี้ต้องได้รับการรับรองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม โดยให้เรียกผู้ได้รับเลือกนี้ว่า “ว่าที่ ประธานสภาคณบดี” และให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาคณบดีอันดับที่ ๑

(๓) การเลือกรองประธานสภาคณบดีอันดับที่ ๒ ให้ดำเนินการในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี โดยให้ ประธานสภาคณบดีคนใหม่ เสนอชื่อคณบดีของสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่เป็น สถาบันอุดมศึกษาเดียวกันกับสถาบันอุดมศึกษาของรองประธานสภาคณบดีอันดับที่ ๑ โดยมีผู้ รับรองไม่น้อยว่า ๕ สถาบันอุดมศึกษา และผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่ขัดข้อง เพื่อให้สมาชิกสามัญ ลงคะแนนลับ ซึ่งรองประธานสภาคณบดีอันดับที่ ๒ ต้องได้รับการรับรองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม

มาตรา ๒๐ ให้ประธานสภาคณบดีคนใหม่เสนอชื่อสถาบันการอุดมศึกษา ๔ แห่ง เพื่อร่วมเป็น คณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๑๓ (๓) ให้สมาชิกสามัญของที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีลงคะแนนลับ ซึ่งต้อง ได้รับการรับรองไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม

มาตรา ๒๑ หน้าที่ของประธานสภาคณบดีคนใหม่และคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ไต้ รับส่งมอบงานจากคณะกรรมการบริหารชุดเก่า

มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการบริหารชุดเก่า ทำการส่งมอบงานให้แก่คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ภายในเวลา ๓๐ วัน นับจากวับประชุมใหญ่สามัญประจำปีสิ้นสุดลง

มาตรา ๒๓

ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารว่างลงตามมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๖ (๑) ให้คณะกรรมการ บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้น ทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมีคณะกรรมการบริหารชุดใหม่

ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารว่างลงตามมาตรา ๑๖ (๒) ให้ที่ปรึกษาประธานสภาคณบดี ซึ่งเป็นอดีต ประธานสภาคณบดีตามมาตรา ๑๓ ทำหน้าที่รักษาการประธานสภาคณบดี โดยทันที พร้อมกับเรียกประชุมใหญ่ วิสามัญ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการบริหารตามมาตรา ๑๓ ขึ้นมารักษาการโดยใช้วิธีการตามมาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ โดยอนุโลม และให้รักษาการคณะกรรมการบริหารจนครบวาระที่เหลือ

ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารว่างลงตามตามมาตรา ๑๖ (๒) หรือมาตรา ๑๖ (๓) หรือมาตรา ๑๖ (๔) ให้ว่าที่ประธานสภาคณบดีเข้ารักษาการตำแหน่งประธานสภาคณบดีทันทีจนครบวาระที่เหลือ


หมวด ๕ การประชุมใหญ่สามัญประจำปี

มาตรา ๒๔ คณะกรรมการบริหาร ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในช่วง ระหว่างเดือนตุลาคมของทุกปี โดยส่งหนังสือเชิญประชุมให้กับสมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๔ วันเพื่อ ดำเนินการ

(๑) เลือกประธานสภาคณบดี และคณะกรรมการบริหาร ตามมาตรา ๑๓

(๒) แถลงกิจกรรมการดำเนินการและสถานภาพด้านการเงินของสภาคณบดีในรอบปีที่ผ่านมา

(๓) รับสมาชิกใหม่

(๔) แก้ไขหรือเพิ่มเติมธรรมนูญของสภาคณบดี

(๕) ดำเนินการในภารกิจอื่นๆ ตามที่ที่ประชุมสภาคณบดีเห็นสมควร การดำเนินการตาม (๓) (๔) และ (๕) อาจจัดให้มีการประชุมคราหนึ่งคราใดก็ได้ โดยให้คณะกรรมการบริหารเชิญสมาชิกเข้าร่วมประชุมพิจารณาตามที่เห็นสมควร

มาตรา ๒๕ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีต้องมีสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะนับเป็นองค์ประชุม มติของที่ประชุมให้ถือตามเสียงข้างมากของสมาชิกสามัญที่มา ประชุม หากสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมให้ดำเนินการประชุมได้ จากนั้นประธานเวียนแจ้งข้อสรุปให้สมาชิก ทราบเพื่อขอความเห็นชอบ และถือเป็นมติต่อไป

มาตรา ๒๖ การประชุมใหญ่วิสามัญสามารถกระทำได้ หากว่าสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ ได้ทำหนังสือถึงประธานสภาคณบดี ซึ่งในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการบริหาร จะต้องทำการเรียกประชุมใหญ่ วิสามัญภายในเวลาไม่เกิน ๓๐ วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือ

กรณีจำเป็น คณะกรรมการบริหารอาจจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญนี้

มาตรา ๒๗ ในการประชุมใหญ่ทุกครั้ง ให้ประธานสภาคณบดีเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานสภา คณบดีไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานสภาคณบดีคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ ประชุม ถ้ารองประธานสภาคณบดีไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการบริหารเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม


หมวด ๖ รายได้และการจัดการงบดุล

มาตรา ๒๘ สภาคณบดีมีรายได้จาก

(๑) ค่าบำรุง ค่าลงทะเบียน ค่าบริการจากสมาชิก

(๒) เงินบริจาค

(๓) เงินรายได้อื่น

มาตรา ๒๙ ค่าบำรุงสภาคณบดี

(๑) สมาชิกสามัญ ปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

(๒) สมาชิกวิสามัญ ปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

(๓) สมาชิกสมทบ ปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

สภาคณบดีอาจเรียกเก็บค่าบำรุงพิเศษจากสมาชิกได้เปีนครั้งคราว โดยที่ประชุมสภาคณบดีลงมติด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมการประชุม

มาตรา ๓๐ การจ่ายเงินของสภาคณบดี ให้ประธานสภาคณบดีมีอำนาจอนุมัติได้ครั้งละไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และ ปีละไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)หากเกินกว่าที่กำหนดนั้นให้กระทำโดยความเห็นขอบจากที่ประชุมสภาคณบดีเป็นคราวๆไป

มาตรา ๓๑ ประธานสภาคณบดีจะต้องจัดทำงบดุลสภาคณบดี ในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อประกอบในเอกสารการส่งมอบงาน


หมวด ๗ การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญ

มาตรา ๓๒ การแก้ไขหรือเพิ่มเติมธรรมนูญของสภาคณบดี สามารถกระทำได้ แต่ต้องอาศัยความเห็นขอบของสมาชิกด้วยเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสมาชิกที่เข้าประชุมใหญ่สามัญประจำปี

(๑) การแก้ไขหรือเพิ่มเติมธรรมนูญจะต้องกำหนดในวาระของการประชุมใหญ่สามัญประจำปีและมีรายละเอียดที่ต้องการแก้ไข ส่งให้สมาขิกได้ทราบพร้อมกับวาระการประชุม เว้นแต่กรณีจำเป็น อาจกำหนดให้มีการพิจารณาในวาระการประชุมอื่นได้ตามที่บัญญัติไว้ในธรรมนูญนี้

(๒) การลงคะแนนเสียง ให้ใข้การลงคะแนนลับ


บทเฉพาะกาล

ธรรมนูญสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้ได้รับความเห็นชอบจาก มาชิกสามัญผู้ก่อตั้งของสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมใหญ่เพื่อจัดตั้ง สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ณ วันศุกร์ที่ ๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ที่มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี สมัยที่ ๑ ให้ดำเนินการเลือกประธานสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญที่ตราขึ้น ณ วันศุกร์ที่ ๗ เดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ส่วนว่าที่ ประธาน รองประธาน และคณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญฉบับนี้

 

Share this Post