ธรรมนูญสภาคณบดี (old Version)

Kritsana/ CITT

ธรรมนูญสภาคณบดี เพื่อให้การดำเนินงานและการประสานงานของสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์จึงกำหนดธรรมนูญของสภาคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยไว้ ดังต่อไปนี้ หมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๑ ธรรมนูญนี้เรียกว่า “ธรรมนูญสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๔” มาตรา ๒ สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยเป็นองค์การอิสระทางด้านวิชาการซึ่ง ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากหน่วยงานระดับคณะและมีชื่อเป็นคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือหน่วยงานระดับ คณะที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น หน่วยงานนั้นมีการจัดการศึกษาในสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก โดยมีคณบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของหน่วยงานนั้นเป็นผู้แทนในธรรมนูญนี้ เพื่อความเข้าใจตรงกันในธรรมนูญ จึงกำหนดนิยาม ดังนี้ “สถาบันอุดมศึกษา” หมายความถึง สถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องและมีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย “คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ” หมายความถึง หน่วยงานระดับคณะหรือเทียบเท่าที่จัดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก “คณบดี” หมายความถึง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือตำแหน่งที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น “สภาคณบดี” หมายความถึง สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย “ประธานสภาคณบดี ” หมายความถึง ประธานสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย “รองประธานสภาคณบดี” หมายความถึง รองประธานสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย “สมาชิก” หมายความถึง สมาชิกสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย “คณะกรรมการบริหาร” หมายความถึง คณะกรรมการบริหารสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่ง ประเทศไทย หมวด ๒ ชื่อและวัตถุประสงค์ มาตรา ๓ ชื่อภาษาไทย คือ “สภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย”

Read More

บันทึกข้อตกลงร่วม

Kritsana/ CITT

บันทึกข้อตกลงร่วม บันทึกข้อตกลงร่วม (Memorandum of Agreement) ฉบับนี้ถือเป็นข้อตกลงและเป็นความเข้าใจร่วมกันของคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ตำแหน่งที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นของหน่วยงานระดับคณะที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก จากสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด 14 สถาบัน ดังนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำนักวิขาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร   ในการร่วมมือกันเพื่อจัดตั้งสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย โดยสมาชิกก่อตั้งของ สภาคณบดีทั้ง ๑๔ สถาบันนี้จะร่วมมือกันในการขับเคลื่อนนโยบายและแนวทางในการพัฒนาการศึกษาด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิชาการ งานวิจัย และงานบริการสังคมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยจะยึดถือ “ธรรมนูญสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. ๒๔๕๔” เป็นข้อบังคับในการดำเนินงานร่วมกันต่อไป ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาทั้ง ๑๔ สถาบันจึงได้ร่วมลงนามไว้ดังนี้

Read More

About CITT

Kritsana/ CITT

สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ The Association of Council of IT Deans (CITT)  หลักการในการก่อตั้ง ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาคุณภาพ และการดำรงชีวิตในสังคม รวมทั้งการแข่งขันด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยและของโลก องค์การทุกประเภทได้มีการนำเทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในทางยุทธศาสตร์ และในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งมีผลทำให้เกิดความต้องการบุคลากร และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมากมาย ตามไปด้วย บทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ก็คือการรับใช้สังคมและพัฒนาประเทศ ดังนั้นสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง และความสำคัญดังกล่าวของเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้มีการพัฒนาหลักสูตร และเปิดดำเนินการสอนทางด้านสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ในประเทศไทยหลายมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญในการผลิต บัณฑิตที่มีคุณภาพในสาขาวิชาดังกล่าวเป็นอย่างมากด้วยการจัดตั้งคณะหรือหน่วยจัด การศึกษาที่ดูแล รับผิดชอบโดยตรงต่อการเรียนการสอนในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็จะมีการตั้งชื่อคณะว่าคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่อย่างไรก็ตาม บางมหาวิทยาลัยอาจจะตั้งคณะที่มีชื่อที่ใกล้เคียงกันก็ได้ อาทิเช่น คณะสารสนเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นองค์การภาคการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในสังคมอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา นอกจากนื้ยังมีนักเรียน นักศึกษาจำนวนมากที่ให้ความสนใจในการเข้ามาศึกษา และเล่าเรียนในคณะดังกล่าว เพื่อไปประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นมา คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณะที่เกี่ยวข้องจาก ๙ มหาวิทยาลัยได้มีการนัดพบปะเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางด้านวิชาการ งานวิจัย และการบริการสังคม

Read More